วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 28, 2552

สูตรและวิธีการผลิตยางรองรับแท่นเครื่อง

สูตรและวิธีการผลิตยางรองรับแท่นเครื่อง
Formulations and Manufacturing of the Rubber Engine - Mounts


พลชิต บัวแก้ว         วราภรณ์ ขจรไชยกูล
วิภา เศวตกนิษฐ์       ธวัช จาละ
อำพันทอง ทองคำ    ทักศิลป์ เสนาะดี


ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง สถาบันวิจัยยาง

บทคัดย่อ

          ยางธรรมชาติที่ผ่านขบวนการคงรูปแล้ว จะมีสมบัติการคืนตัวเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เหมาะสำหรับใช้งานในด้านวิศวกรรม เช่น ยางรองคอสะพาน ยางรองอาคารสูง ๆ ป้องกันแผ่นดินไหว และยางรองแท่นเครื่อง เป็นต้น สามารถกำหนดสูตรความแข็งให้รับน้ำหนักที่แตกต่างกันได้ และเมื่อใช้ร่วมกับโลหะจะยืดหยุ่นรับแรงเฉือนและแรงสั่นสะเทือนได้ดี การติดตั้งก็ง่ายและสะดวก จึงได้ทำการศึกษายางรองแท่นเครื่อง เรื่องสูตรการผลิตและประสิทธิภาพของยางติดโลหะ ทดลองสูตรยางที่ทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน โดยใช้ระบบการคงรูป EV - System เมื่อทดลองการคงรูปที่ 150ฐ ซ. มีระบบใช้เวลา 2 นาที ได้แก่ S 0.7, TBBS 0.7, MBT 1.7 และ S 0.6, CBS 1.1,MBT 1.1, เวลาการคงรูป 4 นาที ได้แก่ S 0.4, TBBS 2, CBS 2, TMTD 1 และ S 0.3, CBS 3.0, TMTD 2, เวลาการคงรูป 11 นาที ได้แก่ S 0.6, CBS 1, TMTD 1.6 และ S 0.5, CBS 6.0 ส่วนการทดลองเรื่องความแข็งของยางใช้เขม่าดำ N 330, ซิลิกา และน้ำมัน Aromatic oil เป็นปัจจัยในการทดลองสูตรยางให้มีความแข็ง 40, 45, 50, 55, 60, และ 65 ได้ตามลำดับปริมาณเขม่าดำและซิลิกา 2 - 3 ส่วน จะเพิ่มความแข็งของยางประมาณ 1 หน่วย shore A ส่วนน้ำมัน Aromatic oil 2 ส่วนจะช่วยปรับความแข็งของยางนิ่มลง 1 หน่วย shore A เช่นกัน ประสิทธิภาพของโลหะติดยาง ขึ้นอยู่กับความสะอาดของโลหะก่อนที่จะทากาวจะต้องปราศจากไขมันและสนิม โลหะที่สะอาดแล้วทากาว chemlok 205 เป็นชั้นแรก ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วทากาว chemlok 220 ทับทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำไปขึ้นรูปอัดด้วยยางที่อุณหภูมิ 140ฐ ซ. นาน 8 นาที เทคนิคการการผลิตจะต้องบดยางแผ่นรมควันให้มีความหนืด (ML 1 + 4) 38ฑ2 หน่วย ก่อนจะบอผสมสารเคมีด้วยเครื่องนิดเดอร์ และบดผสมกับกำมะถันเครื่องบดผสมแบบ 2 ลูกกลิ้ง เป็นขั้นสุดท้าย

อ้างอิง: www.rubber.co.th